เรือนไทย....พระนคร

เรือนไทย....พระนคร

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน ประกอบด้วยอะไรบ้าง

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน
ประกอบด้วยอะไรบ้าง

วัฒนา นัทธี .2547(http://www.edtechno.com/) กล่าวไว้ว่า ลักษณะโคร่งสร้างของสื่อหลายมิติ โดยทั้วไปแล่งออกเป็น 3 แบบ
(1) รูปแบบหลัก(domain model:dm) เป็นรูปแบบโครงสร้างหลักของข้อมูลสารสนเทศทั้งหมดที่นำเสนอให้ผู้เรียน โดยรูปแบบหลักเปรียบเสมือนคลังของข้อมูลไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาประวัติ เนื้อแฟ้มข้อมูลนักเรียน
(2) รูปแบบของผู้เรียน(student model:sm) เป็นการออกแบบระบบที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบการเรียนรู้ และคุณลักษณะของผู้เรียนแต่ละคนที่เหมาะสมกับข้อมูลสารสนเทศและเนื้อหาที่นำเสนอเพื่อการตอบสนองแบบรายบุคคล
(3) รูปแบบการปรับตัว เป็นรูปแบบของความสามารถในการปรับตัวของระบบ ที่สอดคล้องกับรูปแบบหลัก และรูปแบบของผุ้เรียน โดยรูปแบบการปรับตัว ( Apaptive Model:AM) เป็นการพัฒนาโปรแกรมหรือระบบที่สามารถนำมาปรับใช้สื่อหลายมิติแบบปรับตัวได้ โดยส่วนใหญ่นิยมพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีเว็ปเป็นฐาน (Web-Based Intruction)

กิดานันท์ มะลิทอง (http://wongketkit.blogspot.com/) ได้กล่างไว้ว่าลักษณะของสื่อหลายมิติว่า
(1) ภาพนิ่ง
(2) ภาพเคลื่อนไหว
(3) ภาพถ่าย
(4) เสียงพูด
(5) เสียงดนตรี
ทั้งหมดนี้เป็นลักษณะของสื่อหลายมิติ ที่ผู้สอนจะนำไปใช้ในการเรียนการสอน ทำให้นักเรียนมีความใฝ่เรียนมากขึ้น และเป็นแรงจูงใจอีกอย่างหนึ่ง


สรุป
รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน
ประกอบด้วยอะไรบ้าง

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วย (1) รูปแบบหลัก (2) รูปแบบของผู้เรียน (3) รูปแบบการปรับตัว
ส่วนลักษณะของสื่อหลายมิติ ประกอบด้วย (1) ภาพนิ่ง (2) ภาพเคลื่อนไหว (3) ภาพถ่าย (4) เสียงพูด (5) เสียงดนตรี


บรรณานุกรม
รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน

วัฒนา นัทธี. 2547 (http://www.edtechno.com/)

กิดานันท์ มะลิทอง (http://wongketkit.blogspot.com/)

สื่อประสม

สื่อประสม

ผศ.วรวิทย์ นิเทศศิลป์ (2551:45) ได้ให้ความหมายไว้ว่าสื่อประสม หรือ ระบบมัลติมีเดีย เป็นเทคโนโลยีที่ผสมผสาน ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และข้อความเข้าด้วยกัน โดยใช้ระบบคอมพิเตอร์ช่วยในการแสดง นำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน

รศ.ดร.กิดานันท์ มะลิทอง(2544:6) ได้ให้ความหมายไว้ว่าสื่อประสมหมายถึง การนำสื่อหลายๆประเภท มาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วย เพื่อการผลิตหรือ การควบคุมการทำงานของอุปรณ์ต่างๆในการนำเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพกราฟฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว แบบวีดีทัศน์ และเสียง

(http://www.st.ac.th/) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การนำเอาสื่อหลายๆอย่างเช่น รูปภาพ เทป แผ่นโปร่งใส ใช้รวมกัน เพื่อส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียนการสอน

(http://www.blogger.com/) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาให้ก้าวน้าอย่างรวดเร็ว และเป็นเทคโนโลยีที่ใช้คอมพิวเตอร์แสดงผลในลักษณะการผสมของสื่อหลายชนิดเข้าด้วยกันทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ โดยเน้นการโต้ตอบและมีปฎิสัมพันธ์กับผู้ใช้ สื่อประสมจึงต้องการช่องสัญญาณสื่อการที่แถบกว้างสูง รับรองการทำงานแบบสองทิษทาง โดยเน้นการย่นย่อระยะทางไกลๆให้เสมือนอยู่ซิดใกล้ โต้ตอบกันได้อย่างรวดเร็ว

สรุป
สื่อประสม

สื่อประสม คือเทคโนโลยีที่นำสื่อหลายๆประเภท มาผสมผสานภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และข้อความเข้าด้วยกัน โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ช่วยในการแสดงผล โดยเน้นการโต้ตอบและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน

บรรณานุกรม
สื่อประสม

ผศ.วรวิทย์ นิเทศศิลป์ .สื่อการสอน.ปทุมธานี: สภาพบุ๊กส์ ,2551

รศ.ศร.กิดานันท์ มะลิทอง.สื่อการสอนและฝึกอบรม จากสื่อพื้นฐานถึงสื่อดิวิตัน.กรุงเทพมหานคร:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2544.228

http://www.st.ac.th/

http://www.blogger.com/

สื่อการสอน

สื่อการสอน

จินตนา ในการซูยี (2540:11) ได้กล่าวถึงความหมายสื่อการสอนไว้ว่าสื่อการสอน(instructional Materials) หมายถึง วัตถุหรือเครื่องมือที่จัดทำขึ้นซึ่งมีข้อมูลเนื้อหาสารที่เป็นประโยชน์ต่อประสบการณ์เรียนรู้ สำหรับนำไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอนของครูแบะนักเรียนให้เป็นไปตามลักสูตรกำหนด สื่อการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เพื่อหา เกิดทักษะกระบวนการและความรู้สึก คิดต่างๆอันจะนำไปสู้จุดหมายของหลักสูตร

สมบูรณ์ สงวนญาติ (2534:43) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อการสอนหมายถึงสิ่งต่างๆที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูว่างไว้ได้เป็นอย่างดี

เปรื่อง กุมุท (2519:112) ได้ให้ทักษะว่า สื่อการสอนหมายถึง วัสดุ อุปกรณ์และวิธการที่ใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนสามารถส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติ และทักษะไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผศ.วาสนา ชกวานา (ไม่ระบุ:8) กล่าวไว้ว่าสื่อการสอนหมายถึงสิ่งใดก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะหรือพาหนะนำความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ ได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้เป็นอย่างดี

ผศ.วรวิทย์ นิเทศิลป์ (2551:12) กล่าวไว้ว่า สื่อการสอนหมายถึงวัสดุและอุปกรณ์ หรืออาจจะเป็นวิธีการที่เป็นตัวกลางการถ่ายทอด ในการสื่อความหมายเพื่อให้รับรู้ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร มีความเข้าใจที่ตรงกัน


สรุป
สื่อการสอน

สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ หรือทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เป็นตัวกลาง หรือ พาหะ ให้ผู้สอน สามารถส่ง หรือถ่ายถอดความรู้ ให้แก่ผู้เรียนได้เรียนได้เรียนรู้ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อให้ผู้สอนกับผู้เรียน มีความเข้าใจตรงกัน


บรรณานุกรม
สื่อการสอน

จินตนา ใบกาซูยี. การเขียนสื่อการเรียนการสอน.กรุงเทพ:ชมรมเด็ก,2540สมบูรณ์ สงวนญาติ .
เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน.กรุงเทพ:โรงพิมพ์การศาสนา,2534

เปรื่อง กุมุท.การวิจัยสื่อและนัวตกรรมการสอน.กรุงเทพฯ

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ .เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน.กรุงเทพ:อรุณการพิมพ์,2523

ผศ.วาสนา ชาวนา.สื่อการเรียนการสอน.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์โอเดียนสโตม

ผศ.วรวิทย์ นิเทศศิลป์.สื่อการสอน. ปทุมธานี:สกายบุ๊กส์,2551

เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้างและแต่ละอย่างเป็นอย่างไร

เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้างและแต่ละอย่างเป็นอย่างไร

(http://vclass.mgt.psu.ac.th/) ได้กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนข่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ หลายด้าน มีระบบควมพิวเตอร์ช่วยส่อน ระบบสนับสนุนข่าวสารและเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการวัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสานเพื่อการวางแผน การดำเนินการ การติตามและประเมิณผลซึ่งอาศัย คอมพิวเตอร์

(http://www.princess.it.org)ได้กล่าวไว้ว่าโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของโรงเรีนชนบท (แสวง) เพื่อให้เด็กนักเรียนในชนบทมีโอกาสเรียนรู้เทคโนโลยีควมพิวเตอร์เพื่อสร้างความเท่าเทียมกันทางโอกาสและความเสมอภาคเพื่อต้น และนำไปประกอบอาชีพได้ในอนาคต

(http://suriya.blg.mthai.com)ได้กล่าวไว้ว่าการนำเทศโนโลยีสารสนเทศการศึกษาคือ ความมุ่งของสังคมที่นำพาประเทศชาติก้าวเข้าสู่ยุคสารสนเทศ ด้วยระบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนดลยีสารสนเทศ เป็นอย่างรูปธรรม เพื่อให้การศึกษาของชาติมีความเท่าเทียมกัน มีครภาพและมีความต่อเนื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิต

สรุป

เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญมากกับระบบการศึกษาในปัจจุบัน เพราะเป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ หลายด้านไม่ว่าจะเป็นทางด้านการศึกษาที่ มุ่งมีพัฒนาประเทศชาติและเพื่อสร้างความเท่าเทียมทางโอกาส ความเสมอภาคเบื้องต้น และนำไปประกอบอาชีพได้ในอนาคต

บรรณานุกรม
เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้างและแต่ละอย่างเป็นอย่างไร

http://vclass.mgt.psu.ac.th/

http://www.princess.it.org/

http://suriya.blg.mthai.com/

เทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศ

ผศ.วรวิทย์ นิเทศศิลป์ (2551:44 ) ได้ให้ความหมายไว้ว่าเป็นระบบประมวลผลข้อมูลในลักษณะต่างๆเพื่อช่วยในการบริหารจัดการงาน

(http://sirigate/ 15.blogspot.com) ได้ให้ความหมายไว้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การราบรวมข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลการประมวลผล การพิมว่า การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล และจะราบไปถึงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการการใช้และการดูแลข้อมูลเทคโนโลยีจึงมีความหมายที่กว้างขวางมาก

รานา ระวินท (http://www.bloggang.com)ได้ให้ความหมายไว้ว่าเอคโนโลยีสารสนเทศ คือ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดวิธีการใหม่ๆ ในการจัดเก็บข้อมู ข่าวสาร ความรู้การสังท่าน การสื่อสารสารสนเทศ การขึ้งสารสนเทศ การรับสารสนเทศรอวึงการสร้างสังคมและอุตสาหกรรมด้านสารสนเทศ และการลดการสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ

(http://www.thaigoodview.com)ได้ให้ความหมายไว้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology:it)หมายถึงการนำเอาเทคโนโลยีมาให้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์และให้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศโทรคมนาคมช่วยให้เราสามารถส่งผลลัพธ์ของกานให้งานควบคอมพิวเตอร์ไปให้ผู้ใช้ที่อยู่ทางไกลไปอย่างรวดเร็วและสะดวก

สรุป
เทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศ เกิดจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดวิธีการใหม่ๆในการจัดเก็บข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ เพื่อประมวลผลออกมาในรูปแบบต่างๆที่ดีขึ้น เช่น การเช่าถึงสารสนเทศมากขึ้น การจัดการสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นต้น เทคโนโลยีสานสนเทศเป็นเทคโนโลยีที่มรการจัดการอย่างเป็นระบบมีความแม่นยำ สะดวก รวดเร็วและสามารถใช้ได้อย่างกว้างขวางโดยมีคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องโดยตรง

บรรณานุกรม
เทคโนโลยีสารสนเทศ

ผศ.วรวิทย์ นิเทศศิลป์ . สื่อการสอน.ปทุมธานี: สภายบุ๊ส์ ,2551

http://sirigate15.blogspot.com/

รานา ระจินดา http://www.bloggang.com/

http://www.thaigoodview.com/

Dr.นูรีดา วงศ์หมัดทอง http://gotoknow.org/

เทคโนโลยี (ความหมาย)

เทคโนโลยี (ความหมาย)

สมบูรณ์ สงวนญาติ (2534:16)ได้กล่าวความหมาย ไว้ว่า การนำความรู้ทางศาสตร์สาขาต่างๆมาประยกต์ให้เกิดเป็นระบบที่ดี ซึ่งสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในเรื่องหนึ่งให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดร.กิดานันท์ มะลิทอง (2537:3)ได้กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีเป็นการนำเอาความคิดหลัการเทคนิด ความรู้ ระเบียบวิธีการ กระบวนการ ตลอดการผลุผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีการปฎิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดีขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานนั้นให้มีมายิ่งขึ้นด้วย

(http://www.chakkham.ac.th)กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีหมายถึงการประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์และเปนทัวใจจองการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสิ้นค้าและผลิตภัณฑ์
Heinich และคณะ (1982:8) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้ดังนี้
(1) เทคโนโลยีในฐานะที่เป็นกระบวนการ (Technology asprocess) เป็นการประยุกต์วิทยาศาสตร์อย่างมีระบบหรือวัดความรู้อย่างมีระบบเพื่อนำไปสู้การปฎิบัติ
(2) เทคโนโลยีในฐานะที่เป็นผลผลิต (Teehnology asproduct)หมายถึงเครื่องมืออุปกรณ์ hardware หรือ วัสดุ software ที่เป็นผลผลิตจากการใช้กรกะบวนการด้านเทคโนโลยีเช่นสิ่งพิมพ์ ภาพยนตร์
(3) เทคโนโลยีในฐานะที่ผสมผสานทั้งกระบวนการและผลผลิต(Technolohy as amit or process and product) หมายถึง ก.การผสมผสานของกระบวนการกับผลผลิต เช่น เทคโนโลยีในระบบการส่งข้อมูลให้กระจายออกไป ซึ่งต้องใช้ทั้งกระบวนการและเครื่องมือที่เป็นผลผลิต ข. การแยกกระบวนการออกจากผลผลิตไม่ได้เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นปฎิพันธ์ระหว่าง handware

ผศ.วรวิทย์ นิเทศศิลป์ (2551:39) ได้กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2541 หมายถึงวิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฎิบัติและอุตสาหกรรม เทคโนโลยีมาจากคำว่า Techno ตรงกับภาษาไทยว่าวิธีการ การสานหรือการสร้าง คำว่า Logy มีความหมายว่า ความรู้เกี่ยวกับศาตร์หรือการศึกษาเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ต้องการศึกษากำหนดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ การวัดการประเมินผ่านการสื่อสารที่เอื้อต่อโครงสร้างพื้นฐานและความพร้อมของผู้เรียน

สรุป
เทคโนโลยี (ความหมาย)

เทคโนโลยี หมายถึง เป็นหารนำเอาความคิด หลักการเทคนิด ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความรู้ทางศาสตร์สาขาต่างๆมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ ในด้านสิ่งประดิษฐ์ และวิธีการปฎิบัติ ซึ่งสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของงานนั้นให้มีมากยิ่งขึ้นด้วย

บรรณานุกรม
เทคโนโลยี ความหมาย

สมบูรณ์ สงวนญาติ.เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน.กรุงเทพ:โรงพิมพ์.การศาสนา,2534

ดร.กิดานันท์ มะลิทอง.เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน.กรุงเทพ:เอดิสัน เพรสโฟดัส์
จำกัด ,2537

http://www.chakkharn.ac.th/

henich Robert:molenda,michael:and Russel.jamesd.instructional Media andthe new technology
of Instryction john wiley 8 sons n 1985

ผศ. วรวิทย์ นิเทศศิลป์.สื่อการสอน. ปทุมธานี:สกายบุ๊กส์,2551

นวัตกรรมทางการศึกษา

นวัตกรรมทางการศึกษา

ถวัลย์ มาศจรัส และ วรรณณ นันบู่แว่น(2547:3) ได้กล่าวไว้ว่านวัตกรรมทางการศึกษา คือ ความคิดใหม่ รูปแบบใหม่ วิธีการใหม่ เทคนิคใหม่แนวทางใหม่ ผลผลิตใหม่ ที่ได้ปรับประยุกต์ สร้างสรรค์และพัฒนา ทั้งจากการต่อยอดภูมิปัญญาเดิมหรือจากการคิดค้นขึ้นมาใหม่ด้วยภูมิปัญญาใหม่ให้เกิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

(http://ceitsut.ac.th/) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมการศึกษาไว่ว่า การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่อยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้รวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน

ดร.ประพนธ์ ผาสุกยืด (http://hotokmow.org/) ได้ให้ความหมายไว้ว่า คือ เป็นเรื่องใหม่ๆ ในแวดวงการศึกษา ซึ่งถ้าตามในฐานะเป็นพอ วิทยานวัตกรรม ชื่อบอกอยู่ว่าคณะหรือสถาบันแห่งนี้จะต้องทำเรื่องทีมันใหม่ ไม่ใช้เรื่องที่ทำกันอยู่แล้ว หรือทำแบบเดิมๆ

นายไพบูลย์ จำปาปั่น (http://hotoknow.org/) ได้กล่าวไว้ว่าหมายถึงการนำความคิดใหม่ๆ วิธี การปฏิบัติใหม่ๆหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆที่แปลกจากเดิมหรือจากจะได้รับการปรับปรุงของเก่าให้ใหม่ และเหมาะสมหับสถานการณ์ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้รับการทดลอง พิสูจน์และพัฒนาเป็นขั้นตองเป็นระบบ จรเป็นที่เชื่อถือได้ว่าให้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้งานบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพเรานำมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแนวทาง ปฏิบัติทางการศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาให้สูงขึ้น

สรุป
นวัตกรรมการศึกษา

นวัตกรรมทางการศึกษา คือการนำความคิดที่สร้างสรรค์ใหม่ๆวิธีการปฏิบัติใหม่ๆหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิม รวมไปถึงการปรับปรุ
แก้ไขและพัฒนาสิ่งเก่าให้ใหม่และเหมาะสมกับสถานการณ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องมีกระบวนการทดลองพิสูจณ์อย่างเป็นระบบขันตอน จนเป็นสิ่งที่ผู้คนยอมรับและเชื่อถือได้ สามารถทำให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

บรรณานุกรม
นวัตกรรมทางการศึกษา

ถวัลย์ มาศวรัส และวรรณาภา มังบู่แว่น.นวัตกรรมการศึกษาชุดแผนการจัดกำกรรมการใช้หนังสือ
หรับปฐม อนุบาล.กรุงเทพมหานคร:ธารจัดหร,2547

(http://ceitsut.ac.th/)

ดร.ประพนธ์ พาสุจยืด (http://www.kmi.or.th/)

นายไพบูลย์ จำปาป่น (http://gotoknow.org/)

นวัตกรรมคืออะไร

นวัตกรรมคืออะไร

รศ.ดร.กิดานันท์ มลิทอง (2540:16) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมเป็นแนวคิด การปฎิบัติ หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีให้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากพัฒนาการของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฎิบัติ ประดิษฐ์สิ่งใหม่หรือพัฒนาสิ่งที่อยู่แล้วให้ดีขึ้นและเหมาะสมภาพและประสิทธิผล สูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาแรงงานได้ด้วย

ปรัชญา ใจสะอาด (2534:5)ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้ว่าความคิดหรือการกระทำใหม่ๆที่นำมาใช้แก้ปัญหาในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ

ทอบัส ฮิวส์ (1971) ให้ความหมายของนวัตกรรมว่าเป็นการนำวิธีการใหม่ๆ มาปฎิบัติ หลังจากได้ท่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนาเป็นขั้นๆแล้ว โดยเริ่มตั้งแต่การคิดค้น(Invention) การพัฒนา(Development)ซึ่งเป็นไปในรูปของโครงการทดลองปฎิบัติก่อน(Pillot Projcct)แล้วจึงนำไปปฎิบัตจริง (Implementation) ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฎิบัติเต็มที่เคยปฎิบัติมา และเรียกว่า นวัตกรรม(Innovation)

ผศ.บุณเกื้อ ควรหาเวช 2545: 3 ได้ให้ความหมายไว้ว่าการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น

ถวับย์ มาศวรัส (2537:ไม่ระบะ) ได้ให้ความหมายไว้ว่าความคิด รูปแบบวิธีการ เทคนิค แนวทางและผลิตผลที่ปรับประยุกต์ สร้างสรรค์และพัฒนาให้เกิดสิ่งใหม่ที่ดีกว่าเดิม

สรุป
นวัตกรรม(คืออะไร)

นวัตกรรมหมายถึง เป็นแนวคิด รูปแบบ วิธีการ เทคนิคและแนวทาง การปฎิบัติ สร้างสรรค์ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการนำเอาของที่มีอยู่เดิมมาพัฒนา ดัดแปลงให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนในยุคปัจจุบัน ซึ่งมีเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิต จึงต้องมีการปรับปรุง พัฒนาให้มีความหมายเหมาะสมกับยุคสมัย เพื่อการใช้งานที่ดีขึ้น มีประสิทธิภาพสูงทั้งยังช่วยในเรื่องของความสะดวกและช่วยให้ประหยัดเวลาซึ่งเป็นความต้องการของคนในปัจจุบัน

บรรณานุกรม
นวัตกรรม (คืออะไร)

รศ.ดร.กิดานันท์ มะลิอง.นวัตกรรม.กรุงเทพมหานคร:อรุณการพิมพ์,2548

ปรัชญา ใจสะอาด.เทคโนโลยีการศึกษา.เชียงใหม่:สถาบันราชภัฏเชียงใหม่2534

ทอมัส ฮิวส์ (http://www7.brinkster.com/prachyanum/imm/iim.html)

ผศ.บุณเกื้อ ควรหาเวช.นวัตกรรมการศึกษา.กรุงเทพมหานคร:ห้างหุ้นส่วนจสำกัด.JR.Printing,2545

ถวัลย์ มาศารัส.การเขียนหนังสือเพื่อของเลื่อนตำแหน่งอาจารย์ 3.กรงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์
ต้น อ้อ,2537


ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นอย่างไร

ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นอย่างไร

รศ.ดร. ปรียาพร วงค์อนุตรโรจน์ (2551:38) ได้ให้ความหมายไว้ว่าทฤษฏีการเรียนรู้ (Theories of Learning )เป็นการศึกษาถึงกระบวนการที่ทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้น และสถานการณ์ที่มีพลต่อการเรียนรู้นั้น ทฤษฎีการเรียนรู้มีหลายทฤษฏี ซึ่งจะมีสมมุติฐานแตกต่างกันไป

(http://www.sahaptn.com/) ได้ให้ความหมายไว้ว่า คือกระบวนการของประสบการณ์ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างค่อนข้างถาวร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้ไม่ได้มาจากภาวะชั่วคราว วุฒิภาวะ หรือ สัญชาตญาณ(Klein 1991:2)
อาจารณ์ชวนันท์ ชาญศิลป์

(http://blog.buu.ac/blog/learning)ได้ให้ความหมายไว้ว่า การเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีพลเนื่องจาก การเผชิญสถานการณ์โดยเฉพาะสถานการณ์ช้ำๆ โดยที่ไม่ได้เป็นสัญชาติญาณหรือเป็นส่วนของพัฒนาการโดยปกติ

ประดินันท์ อุปรมัย(2542:121)ได้ให้ความหมายไว้ว่าประสบการณ์โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเหตุทำให้บุคคลเพชิญสถานการณ์แตกต่างไปจากเดิม

อารินทร์ รัศมีพรหม
(2542:152)(http://imahes.kruawanpiawong.multiphy.multiphycontent.com/)
ได้ให้ความหมายไว้ว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งเป็นพลมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งในการเรียนรู้ที่เกิดขั้น ได้มีการศึกษาค้นคว้าค้านความรู้เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ จนเกิดเป็นทฤษฎีการเรียนรู้

สรุป
ทฤษฏีการเรียนรู้

ทฤษฎีการเรียนรู้(Theories of Learning) เป็นการศึกษาถึงกระบวนการที่ทำให้เกิด การเรียนรู้ขึ้น อันเนื่องจากการได้รับประสบการณ์ หรือ เพชิญสถานการณ์ต่างๆที่แตกต่างกัน ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งในการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนั้น คนเราได้มีการศึกษาค้นคว้า ด้านความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้จนเกิดเป็นทฤษฏีการเรียนรู้ขึ้นมา

บรรณานุกรม
ทฤษฎีการเรียนรู้

รศ.ดร. ปรียาพร วงค์อนุตรโรจน์.จิตวิทยาการศึกษา.กรุงเทพมหานคร:ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ
,2551,328 หน้า

http://www.sahapun.coom/

อาจารย์ ชวนันท์ ชาญศิลป์ (http://blog.buu.ac/blog/learning)

ประตินันท์ อุปรนัย.จิตวิทยาการศึกษา.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ต้นออ,2540

วารินทร์ รัศมีพรหม(2542:152) (http://images.kruawanpiawong.multiphy.multiphycontent.com/

วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทฤษฏีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับกับการเรียนรู้ และแต่ละทฤษฏีเป็นอย่างไร

ทฤษฏีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับกับการเรียนรู้ และแต่ละทฤษฏีเป็นอย่างไร

รศ.ดร. ปรียาพร วงค์อนุตรโรจน์ (2551:40)ได้กล่าวกว่า ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก เป็นหลักการเรียนรู้ของทฤษฏีพาฟลอฟเชื่อว่า สิ่งเร้า (stimulus)ที่เป็นกลางเกิดขึ้นพร้อมๆกันสิ่งเร้า ที่ทำให้เกิดกิริยาสะท้อนอย่างหนึ่งหลายๆครั้ง สิ่งเร้าที่เป็นกลางจะทำให้เกิดกิริยาสะท้อนอย่างนั้นด้วย การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไข(conditioning)

รศ.ดร. อารี นันธ์มณี (2546:199) ได้กล่าวว่า ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของวัตสัน ก็คือการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกทำให้เกิดการเรียนรู้กล่าวคือ การใช้สิ่งเร้าสองสิ่งมาคู่กัน คือสิ่งเร้าที่การเงื่อนไข (cs) กันสิ่งเร้าที่ไม่ว่างเงื่อนไข (ucs) แล้วทำให้เกิดการตอบสนองอย่างเดียวกัน

(
http://multiphycontent.com/) ได้กล่าวว่า ทฤษฏีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม คือทฤษฏีการเรียนรู้ด้วยสังคม ศึกษาว่ามนุษย์ พฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสิ่งกันแบะกันอย่างไร ทฤษฏีนี้ปฏิเสธทฤษฏี พฤติกรรมนิยมและปัญญานิยม เพราะทฤษฎีทั้งสองไม่ได้นำสิ่งแวดล้อม มาพิจารณาด้วย ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยสังคมเชื่อว่า การเรียนรู้ส่วนใหญ่เกิดจากการทำตามแบบของโมเดล

(
http://www.vcharkarn.com/vblog/37131) ได้กล่าวไว้ว่าทฤษฎีการเรียนรู้เชิงพุทธิปัญญานิยม
(cohnitive learning theory) มีความเชื่อว่าความรู้เกิดจากปฎิสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างที่มีลักษณะเฉพาะกับสิ่งแวดล้อมทางจิวิทยาของผู้เรียนแต่ละคน การเรียนรู้ก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้ปรับเปลี่ยนโลกภายในของตนโดยอาศัยกระบวนการปฎิสัมพันธ์ที่เกิดจากการรับรู้ใหม่เข้าไปในสมองหรือจากการปรับเปลี่ยนความรู้เก่าให้เข้ากับความรู้ใหม่

สรุป
ทฤษฏีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้และแต่ละทฤษฏีเป็นอย่างไร

จากได้ไปศึกษาค้นคว้า พบว่ามีทฤษฏีมามายที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ได้แก่
1 ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค เป็นแนวคิดของฟาฟลอฟ
2. ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค เป็นแนวคิดของวัตสัน
3.ทฤษฏีการเรียนรู้พฤติกรรม
4.ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม
ทฤษฏีที่กล่าวไปนั้นเป็นแกบางส่วนเท่านั้น และสรุปได้ว่าแต่ละทฤษฏีเชื่อว่าสิ่งเร้าเป็นตัวกลางในการเรียนรู้มา.

บรรณานุกรม
ทฤษฏีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ และแต่ละทฤษฏีเป็นอย่างไร

รศ.ดร ปรียาพร วงค์อนตรโรจน์ .จิตวิทยาการศึกษา.กรุงเทพมหานคร:ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ
:2551,328 หน้า

รศ.ดร อารี พันธ์มณี. จิตวิทยาสร้างสรรค์การเรียนการสอน.กรุงเทพมหานคร:2546,336 หน้า

(
http://www.multiphycontent.com/)

(
http://www.vcharhan.com/vblog/37131)